ภาษาจีน you &I เป็นแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ภาษาจีนออนไลน์ฟรี สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้ภาษาจีนฟรี หวังอย่างยิ่งที่คนไทยรุ่นใหม่ๆจะเป็นภาษาจีนมากขึ้นไม่แพ้ตะวันตก
ภาษาจีน YOU & I
พินอินในภาษจีนใช้อย่างไร
พินอินในภาษาจีน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (จีนตัวย่อ: 汉语拼音; จีนตัวเต็ม: 漢語拼音; พินอิน: Hànyǔ Pīnyīn; จู้อิน : ㄏㄢˋ ㄩˇ ㄆㄧㄣ ㄧㄣ แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์)
พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย
นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese)
สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย
ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน
เนื้อหาพินอินในภาษาจีนขอแบ่งเป็น7ส่วนในการอธิบาย
1 ต้นพยางค์ (เสียงพยัญชนะต้น)
2 ท้ายพยางค์ (เสียงสระและเสียงพยัญชนะสะกด)
3 การถอดเสียงวรรณยุกต์
4 การใส่วรรณยุกต์
5 อ้างอิง
6 ดูเพิ่ม
7 แหล่งข้อมูลอื่น
ต้นพยางค์ (เสียงพยัญชนะต้น)
อักษรพินอินจะปรากฏเป็นตัวหนา และมีอักษรจู้อินกำกับ อักษรไทยที่กำกับไว้หมายถึงเสียงพยัญชนะไทยที่ใกล้เคียง มิใช่การทับศัพท์
¹ /ɻ/ อาจออกเสียงคล้ายกับ /ʐ/ (เสียงเสียดแทรก ปลายลิ้นม้วน ก้อง) ซึ่งเปลี่ยนแปรไปตามผู้พูด แต่ก็ถือว่าเป็นหน่วยเสียงเดียวกัน
² อักษร y และ w นั้นไม่ได้บรรจุอยู่ในตารางเสียงพยัญชนะของระบบพินอินอย่างเป็นทางการ แต่ใช้สำหรับแทนที่อักษรสระ i, u, ü เมื่อไม่มีเสียงพยัญชนะต้น ซึ่งจะเปลี่ยนรูปเป็น yi, wu, yu ตามลำดับ
³ อักษร y จะออกเสียงเป็น [ɥ] เมื่อตามด้วย u (ซึ่งลดรูปมาจาก ü)
การเรียงลำดับเสียงพินอิน (ไม่รวม w และ y) ได้รับการสืบทอดมาจากระบบจู้อิน (注音; Zhùyīn) นั่นคือ
b p m f d t n l g k h j q x zh ch sh r z c s
หรือ ที่เราท่องกันว่า... โป โพ โม โฟ เตอ เทอ เนอ เลอ เกอ เคอ เฮอ จี ชี ทรี จืยฺ ชืยฺ ซืยฺ รืยฺ ตซือ(จือ) ทซือ(ชือ) ซือ
อย่างไรก็ตามในพจนานุกรมสมัยใหม่ ได้เรียงพินอินแบบ a-z เหมือนอักษรโรมันเพื่อให้การค้นหาสะดวกยิ่งขึ้น
ท้ายพยางค์ (เสียงสระและเสียงพยัญชนะสะกด)
อักษรพินอินจะปรากฏเป็นตัวหนา และปรากฏเป็นสองรูปแบบได้แก่ รูปแบบที่ไม่มีเสียงพยัญชนะต้น และรูปแบบที่มีเสียงพยัญชนะต้นซึ่งจะมีขีดนำหน้า
¹ -i อักษรนี้ใช้ผสมกับ zh ch sh r z c s เท่านั้น
² ü จะเขียนเป็น u เมื่อตามหลัง j q x y
³ uo จะเขียนเป็น o เมื่อตามหลัง b p m f
เสียง /ər/ (เออร์ เช่น 而, 二, ฯลฯ) ซึ่งไม่ปรากฏในตาราง จะเขียนเป็น er ซึ่งเป็นเสียงสระตัวเดียวที่ไม่มีเสียงพยัญชนะต้น สำหรับรูปต่อท้าย -r (ร์) ระบบพินอินไม่ได้กำหนดไว้เป็นพิเศษ จึงสามารถนำไปต่อท้ายสระของพยางค์ก่อนหน้าโดยไม่ทำให้เสียงของพยางค์นั้นเปลี่ยนไป นอกจากนี้ก็ยังมี ê [ɛ] (เอ เช่น 欸, 誒) และเสียงกึ่งพยางค์เช่น m (อืม เช่น 呒, 呣), n (อืน เช่น 嗯, 唔), ng (อืง เช่น 嗯, 𠮾) ใช้เป็นคำอุทาน
อะพอสทรอฟี (') จะใช้เพื่อเป็นการแบ่งพยางค์ เมื่อการเขียนติดกันอาจก่อให้เกิดความกำกวม โดยเฉพาะเมื่อเขียนโดยไม่ใส่วรรณยุกต์ เช่นระหว่าง pi'ao (皮袄/皮襖) กับ piao (票) และระหว่าง Xi'an (西安) กับ xian (先)
การถอดเสียงวรรณยุกต์
เสียงวรรณยุกต์
ระบบพินอินมีเครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์ 4 เครื่องหมายด้วยกัน ดังนี้
1. วรรณยุกต์เสียงที่หนึ่ง แทนด้วยขีดระนาบสั้น ๆ (ˉ) เทียบเท่าเสียง สามัญหรือตรี ในภาษาไทย:
ā ē ī ō ū ǖ
2. วรรณยุกต์เสียงที่สอง แทนด้วยขีดสั้น ๆ เอียงขวา (ˊ) เทียบเท่าเสียง จัตวา ในภาษาไทย:
á é í ó ú ǘ
3. วรรณยุกต์เสียงที่สาม แทนด้วยขีดรูปลิ่ม (ˇ) คล้ายเสียง เอก ในภาษาไทย (แต่ไม่ใช่เสียง"เอก") :
ǎ ě ǐ ǒ ǔ ǚ
4. วรรณยุกต์เสียงที่สี่ แทนด้วยขีดสั้น ๆ เอียงซ้าย (ˋ) เทียบเท่าเสียง โท ในภาษาไทย:
à è ì ò ù ǜ
5. วรรณยุกต์เสียงที่ห้า ไม่มีเครื่องหมาย:
a e i o u ü (แต่บางครั้งเขียนจุดหน้าพยางค์นั้น ๆ เช่น ·yo เยาะ)
ในการใช้เครื่องพิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์ อาจใช้ตัวเลขแทนเครื่องหมายวรรณยุกต์ได้ (1 2 3 4 5 ตามลำดับ)
การใส่วรรณยุกต์
โดยดูที่สระ a o e i u ü ตัวอย่างสระ ie ให้ใส่ที่ e เพราะ e มาก่อน (e i) ยกเว้นถ้า iu ใส่ที่ u
ตัวอย่าง
อ้างอิง
Yin Binyong 尹斌庸 and Mary Felley (1990). Chinese Romanization. Pronunciation and Orthography (Hanyu pinyin he zhengcifa 汉语拼音和正词法). Beijing: Sinolingua. ISBN 7-80052-148-6 / ISBN 0-8351-1930-0.
ดูเพิ่ม
การเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน
แหล่งข้อมูลอื่น
ตารางเปรียบเทียบการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนในระบบต่าง ๆ รวมทั้งระบบพินอิน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น